ข้อมูลสถานศึกษา วิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก
ความเป็นมาของวิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก
ในปี พ.ศ. 2536 อธิการสมพงษ์ จนสาโร เจ้าอาวาสวัดยางคณะกรรมการวัดยาง ร่วมกับประชาชนบ้านบางสะแกและบ้านคลอง ได้พร้อมใจกันให้เช่าที่ดินวัดยางด้านตะวันออกพื้นที่ 9 ไร่ 58 ตารางวา โดยท่านอธิบดีกรมอาชีวศึกษา
นายบุญเทียม เจริญยิ่ง ผู้อำนวยการกองการศึกษาอาชีพ
นายอัมพร ภักดีชาติและคณะ ได้มาสำรวจพื้นที่ดูความเหมาะสมในการจัดตั้ง และมีความเห็นตรงกันว่าเหมาะสม ในการจัดตั้งวิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก จึงได้ร่วมกันดำเนินการจัดตั้งและก่อสร้างตามลำดับตั้งแต่ ปี พ. ศ. 2536 ได้มีการแก้ปัญหาบริเวณที่วัดให้สร้างวิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก จนสำเร็จโดยความร่วมมือร่วมใจจากชาวบ้านบางสะแกบ้านคลองคณะกรรมการสภา ตำบลบ้านคลอง ซึ่งนายแบน ยอดบุรี เป็นกำนัน ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก
นายอภัย จัทนจุลกะ จังหวัดทหารบกพิษณุโลก กองทัพภาคที่ 3 และชาวจังหวัดพิษณุโลก ในสมัยนั้นนายประยงค์ ทัยพิษจิตรได้รับการแต่งตั้งจากกรมอาชีวศึกษา ให้เป็นผู้ประสานงาน ได้เข้าร่วมแก้ปัญหา อุปสรรคต่าง ๆ นั้น จนสำเร็จด้วยดี
ในวันพุธที่ 16 มิถุนายน 2536 วิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก ได้รับประกาศของ กระทรวงศึกษาธิการ เรื่องการจัดตั้งวิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก โดยนายสังข์ทอง ศรีธเรศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้อนุมัติจัดตั้ง ในสังกัดกองอาชีวศึกษา กรมอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ ในการก่อสร้างวิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก ดำเนินการก่อสร้างโดยห้างหุ้นส่วนจำกัด อุทัยสามัคคีก่อสร้าง ด้วยเงินงบประมาณปี 2536 – 2538 เป็นเงิน 30,620,000 บาท รายการก่อสร้างครั้งนี้รวม 6 รายการ ประกอบด้วย
- อาคารเรียนและปฏิบัติการ 3 ชั้น พื้นที่หลังละ 1,920 ตารางเมตร 2 หลัง
- อาคารหอประชุมและสำนักงาน พื้นที่ 960 ตารางเมตร 1 หลัง
- บ้านพักผู้บริหาร ระดับ 7-8 1 หลัง
- บ้านพักครู 6 หน่วย ยาว 36 เมตร 3 หลัง
- บ้านพักภารโรง 2 หน่วย 3 หลัง